สรุปงานวิจัย

งานวิจัยวิทยาศาสตร์

เรื่องการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


ผู้เเต่ง   :   นางยุพาภรณ์  ชูลาย

ชื่อเรื่อง  : การเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

จุดมุ่งหมาย
 1.เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
 2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง

 ตัวเเปรต้น  : เรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
 ตัวแปรตาม  : ที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย

นิยามศัพท์เฉพาะ
           เด็กปฐมวัย  หมายถึง   เด็กปฐมวัยชาย  หญิง  อายุระหว่าง 5-6 ปี  ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเทศบาล 2 สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์  อำเภอเมือง  จังวัดเพชรบูรณ์

ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
 1.ทักษะการสังเกต   หมายถึง เด็กสามารถบอกความเเตกต่าง  บอกลำดับวัตถุ  จัดสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่  โดยใช้เกณฑ์ในการจัดเเบ่ง
2.ทักษะการจำเเนกประเภท  หมายถึง  ความสามารถในการแบ่งพวก  เรียงลำดับวัตถุโดยมีเกณฑ์   เกณฑ์ดังกล่าวอาจจะใช้  ความเหมือน  ความเเตกต่าง  หรือความสัมพันธ์ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
3.ทักษะหามิติสัมพันธ์  หมายถึง   ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ในการบอกความสัมพันธ์ในมิติต่างๆ  ได้แก่ รูปร่างหรือรูปทรง  ขนาด

สมมุติฐานงานวิจัย
      เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ   มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง

วิธีการดำเนินการวิจัย
 1.กำหนดกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้คือ  เด็กปฐมวัยชาย  หญิง  อายุระหว่าง  5-6 ปี  ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเทศบาล 2 สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์  อำเภอเมือง  จังวัดเพชรบูรณ์ มีขั้นตอนในการเลือกกลุ่มตัวอย่างดังนี้
 1.1 เลือกกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียน 6 ห้องเรียน  โดยจับฉลากมา 1 ห้องเรียนโดยได้นักเรียนชั้นอนุบาล 3/1  จำนวน 30 คน
 1.2 จากกลุ่มตัวอย่างในข้อ 1 สุ่มอย่างง่ายอีกครั้ง

2.เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
-แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
-แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
3.ขั้นตอนการวิจัย
-ขอความร่วมมือผู้บรหารโรงเรียนในการทำวิจัย
-ชี้แจงให้ครูประจำชั้นทราบรูปแบบงานวิจัย  และขอความร่วมมือ
-สร้างความคุ้นเคยกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเป็นระยะเวลา  3 สัปดาห์
-ก่อนทำการทดลองผู้ทำการทดลองวิจัยต้องทดลองการทำก่อน
-ดำเนินการทดลองโดยการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์   ระหว่างวันที่ / สิงหาคม 2554 ถึง 22  กันยายน 2554 ใช้เวลาในการทดลอง  8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ  3  วัน  ได้เเก่ วันจันทร์  พุธ  ศุกร์  วันละ  40 นาที   ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เวลา 09.00 - 09.40 น. รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
-เมื่อเสร็จสิ้นการดลอง  8 สัปดาห์  ประเมินหลังการทดลองด้วยแบบทดสอบวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  pre - Test เพื่อเปรียบเทียบก่อน หลังการทดลอง และใช้คะเเนนเป็นตัววิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติสมมุติฐานเพื่อนสรุปงานวิจัยต่อไป

สรุปผลการวิจัย
 1.ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ  เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจำเเนกทักษะ  หลังจากการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างอยู่มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งโดยรวมและจำเเนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด

2.หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติทั้งโดยรมและรายทักษะอย่างมีนัยสำคัญจากสถิติที่ลำดับ 01

THAI TEACHER TV 

สรุปTHAI TEACHER TV 

                 เรียนวิทย์ผ่านขนม ของอาจารย์นิตยา คงพันธ์ โรงเรียนวัดประยุรวงศาวาส สอนในเรื่อง สารและสมบัติของสาร(ของแข็ง ของเหลวและก๊าซ) โดยเน้นเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสารและการถ่ายโอนความร้อน โดยใช้สื่อการเรียนการสอนแบบท้องถิ่น ขนมฝรั่งกุฎีจีน มรดกท้าวทองกีบม้า เพื่อให้เด็กได้ศึกษาความเป็นมาของชุมชนกุฎีจีนว่าเป็นมาอย่างไรจากการสัมภาษณ์คนในชุมชน เพื่อนำมาบูรณาการกับวิทยาศาสตร์ เพราะการทำขนมเกิดจากกระบวนการของสาร ระหว่างแป้ง น้ำตาล และไข่ เด็กก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงสถานะต่าง ๆ ของวัตถุดิบผ่านขั้นตอนและกระบวนการการทำขนม ตั้งแต่วัตถุดิบที่นำมาผสมกันจนกลายเป็นขนมและเปลี่ยนมาเป็นของแข็ง

             ดังนั้นการเรียนสารและสมบัติของสารจึงเน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติเพื่อให้เห็นผลของสิ่งที่จะเรียนรู้โดยทึครูไม่ต้องบอก






บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15

Tueday , November 25, 2557

Time 14.10 To 17.30 pm.



ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )

             การนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว มีดังนี้

1. เรื่อง การกำเนิดของเสียง ( THAI TEACHER TV )
       เด็กได้ฝึกทักษะการคิด การทดลอง การใช้คำถามกับเด็ก เช่น เสียงต่างกันอย่างไร มาจากไหนเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้เด็กจะได้ฝึกการทำงานของระบบประสาท และการทำงานของหู

2.เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย ( RESEARCH งานวิจัย )
       การเรียนรู้เรื่องสี คือสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็ก สิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้
  
3.เรื่อง สารอาหารในชีวิตประจำวัน ( THAI TEACHER TV )
      การปรุงอาหารเกิดจากการผสมส่วนประกอบของอาหารต่างๆ เข้าด้วยกัน อย่างถูกต้องตามชื่ออาหารให้ได้รสชาติที่ต้องการ เด็กยังจะได้ฝึกการสังเกต และการเปลี่ยนแปลงของอาหารอีกด้วย

4.เรื่อง ไฟฟ้าและพันธุ์พืช  ( THAI TEACHER TV )
       สอนการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้สื่อการเรียนรู้นอกห้องเรียน ให้เด็กสังเกตการเจริญเติบโตของพืช และให้เด็กทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องไฟฟ้าและพันธุ์พืช  จากที่ให้เด็กลงมือทำแล้ว มีสื่อ มีอุปกรณ์ให้เด็กได้ทำการทดลอง เด็กเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์

5.เรื่อง การเสริมประสบการณ์เรื่องแสงที่มีต่อทักษะทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย ( RESEARCH งานวิจัย )
       ช่วยในการแสวงหาความรู้เกี่ยงกับทักษะความรู้ ซึ่งแสงได้อยู่รอบๆตัวเรา นำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องแสงได้

6.เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย ด้วยกิจกรรมทำเครื่องดื่มสมุนไพร ( RESEARCH งานวิจัย ) 
        ทักษะในวิจัยนี้ มีทักษะการสังเกต การจำแนก การสื่อความหมายของข้อมูล เด็กจะได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น


กิจกรรม Cooking  Waffle

 อุปกรณ์และส่วนผสม
ไข่ไก่ ( Egg )                         เนย ( Butter )
แป้ง ( Powder )                    น้ำ ( Water )
ถ้วย ( Cup )                         ช้อน ( Spoon )

วิธีการทำ (Waffle)
  - ผสมแป้งและไข่คนให้คนกัน ค่อยเติมน้ำและเนย คนให้เข้ากัน
  - เมื่อได้แป้งตามต้องการแล้ว ตักแป้งใส่ถ้วย และนำไปเท่ลงแม่พิมพ์

ภาพการทำกิจกรรม

















การประเมินผล ( Evaluation )
ตนเอง ( Self )            :  ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาสอน
เพื่อน ( Friends )      :  มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม เข้าเรียนตรงเวลา
อาจารย์ ( Tachers ) : มีเทคนิคการสอนที่ดี หาากิจกรรมใหม่ๆมาให้นักศึกษาทำอยู่ตลอดเวลา



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

Tueday , November 18, 2557
Time 14.10 To 17.30 pm.


ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )
           การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการนำเสนอแผนการสอนต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยการนำเสนอมีดังนี้


กลุ่มที่ 7 นกหงส์หยก 
          สอนเรื่องชนิดและลักษณะของนกหงศ์หยก โดยการเปรีบเทียบ ความเหมือน ความต่างของนกหงษ์หยกแต่ละสายพันธ์ุ



















กลุ่มที่ 8 เรื่องสับปะรด 
             สอนเรื่องประโยชน์และข้อควรระวังของสับปะรด โดยมีนิทานเรื่อง "น้องหนูนากับสับปะรด"















กลุ่มที่ 9 เรื่องส้ม
             สอนในเรื่องประโยชน์ของส้ม แต่เป็นการแปรรูปของส้ม







สรุปงานวิจัยและโทรทัศน์ครูของเพื่อน (RESEARCH + THAI TEACHER TV)


 1. เรื่อง นม + สี + น้ำยาล้างจาน สำหรับเด็กอนุบาล ( THAI TEACHER TV )
         เด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีการพัฒนาการทางสติปัญญาผ่านทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ และสามารถแก้ปัญหาได้อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมุ่งเน้นพัฒนาการ การทดลองได้

2. เรื่อง สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส  ( THAI TEACHER TV )
        ทักษะที่ได้รับคือ เด็กจะได้ฝึกการสังเกต ฝึกการมอง ฝึกการฟัง ฝึกการดมกลิ่น ฝึกการสัมผัส ฝึกการชิมรสชาติของรสชาติอาหารหรือสิ่งเร้าที่ครูนำมาทดลอง

3. เรื่อง ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร  ( THAI TEACHER TV )
        ครูให้เด็กโดยการสืบเสาะหาความรู้ จากการปั่นดินน้ำมันในรูปต่างๆ จากนั้นครูออกแบบ จัดกระบวนการสังเกต ครูแจกใบงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ โดยให้เด็กเรียนเรื่องการคาดคะเนว่า เด็กจะปั้นดินน้ำมันเป็นรูปอะไรถึงจะลอยน้ำได้ และให้เด็กออกมานำเสนอผลงาน พร้อมกลับเอาดินน้ำมันลอยน้ำ


กิจกรรม Cooking 
การทำทาโกะยากิ
 ส่วนผสม

 - ไข่ไก่ ( Egg )                                                                                  - ข้าวสวย ( Rice )
 - ผักต่างๆ ( เช่น แครทCarror / ต้นหอมLeek เป็นต้น หรือ ผักที่เราชอบ ) -  ปูอัด 
 -  ซอสปรุงรส                                                                                        - เนย ( Better )

วิธีทำไข่ทาโกะยากิ
         -  ตีไข่ใส่ถ้วย
       -  นำส่วยผสมที่เตรียมใส่ลงในไข่ในอัตราส่วนที่พอดี คนให้เข้ากัน
       -  นำเนยใส่ในหลุมกระทะ
       -  เท่ไข่และส่วนผสมที่เราเตรียมในกระทะ


















 การประเมินผล ( Evaluation )
ตนเอง ( Self )  :    ตั้งใจฟังกลุ่มของเพื่อนเสนอแผนการเรียนการสอนและออกไปนำเสนอแผนการเรียนการสอนของกลุ่มตัวเองด้วย มีการเตรียมตัวมาดี เข้าเรียนตรงเวลา
เพื่อน ( Friends ) : ตั้งใจเรียนและฟังเพื่อนนำเสนาองานการการเรียนการสอน สนใจและมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมCookingมาก
อาจารย์ ( Tachers ) :ให้คำแนะนำเพิ่มเติมให้แต่ละกลุ่ม เพื่อจะนำไปปรับปรุงแก้ไข


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12


Tueday , November 4 , 2557
Time 14.10 To 17.30 pm.



ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )

       อาจารย์ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่มของตัวเอง  และอธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผนการเรียนการสอน
 ว่ามีอะไรบ้าง   ดังนี้

          - สาระการเรียนรู้                                                          - เนื้อหา Mind Map
          - แนวคิด มีทั้งประโยชน์และโทษ                                - ประสบการณ์สำคัญ
          -  การบูรณาการรายวิชา                                              - Web การทำกิจกรรม
          -  กรอบพัฒนาการ                                                      -  วัตถุประสงค์

สิ่งที่จะนำไปพัฒนา (What will Be Furher Developedl )
       สามารถนำเอาการเรียนการสอน และการเขียนแผนการเรียนการสอน ไปปรับปรุงและแก้ไขเพื่อให้เด็กเกิดพัฒนาการ ทางสติปัญญาและการเรียนรู้ และสามารถนำเอาวิธีการสอนแผนของอาจารย์ไปปรับใช้ในเวลาเตรียมแนวการสอนกับเด็กปฐวัย

การประเมินผล ( Evaluation )
ตนเอง ( Self )          :  เข้าเรียนตรงเวลา สนใจในกิจกรรมที่อาจารย์สอน แต่งกายเรียนร้อย
เพื่อน ( Friends )      :   คุยกัน แต่ช่วยกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
อาจารย์ ( Tachers )  :  อาจารย์อธิบาย การเขียนแผนการเรียนการสอน ตามลำดับขั้นตอน อย่างละเอียดทำให้นักศึกษาเข้าใจในบทเรียนง่ายขึ้น



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13


Tueday , November 11, 2557
Time 14.10 To 17.30 pm.


ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )
วันนี้เป็นการนำเสนอแผนการสอนของแต่ละกลุ่มซึ่งมีลำดับดังนี้

กลุ่มที่ 1 เรื่อง ผลไม้ 
            สอนในเรื่องขนิดของผลไม้

               












กลุ่มที่ 2 เรื่อง แตงโม
             สอนการทำน้ำแตงโมปั่น โดยครูจะเป็นผู้เตรียมอุปรณ์ไว้ให้ 















กลุ่มที่ 3 เรื่อง ข้าวโพด
                 สอนเรื่องประโยชน์และข้อควรระวังของข้าวโพด ข้าวโพดมีประโยชน์หลายอย่าง สามารถนำมาปรกอบอาหารได้ เช่น ตำข้าวโพด ข้าวโพดอบเนย น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น และข้าวโพดยังมีข้อควรระวังอีกด้วย คือ หากทานข้าวโพดมากเกินไปจะทำให้ ท้องผูก ท้องเสียได้



กลุ่มที่ 4 เรื่อง กล้วย
          สอนเรื่องประโยชน์และข้อควรระวังของกล้วย กล้วยมีประโยชน์หลายอย่าง  เช่น กล้วยบวชชี กล้วยปิ้ง กล้วยทอด  เป็นต้น และกล้วยมีข้อควรระวังอีกด้วย คือ หากทานข้าวโพดมากเกินไปจะทำให้ ปวดท้อง เปลือกกล้วยทำให้เราหกล้มได้หากเราเหยียบ
















กลุ่มที่ 5 เรื่องช้าง 
            สอนเรื่องลักษณะและชื่อของช้าง  โดยการให้เด็กจัดกลุ่มช้างแอฟริกา กับช้างไทย















กลุ่มที่ 6 เรื่องผีเสื้อ 
          สอนเรื่องลักษณะของผีเสื้อ โดยให้เด็กสังเกตสี ขนาด และรูปทรงของผีเสื้อ

















การประเมินผล ( Evaluation )
ตนเอง ( Self ) : ตั้งใจฟังกลุ่มของเพื่อนเสนอแผนการเรียนการสอน และมีการจดบันทึกข้อบกพร่องของเพื่อนแต่ละกลุ่ม
เพื่อน ( Friends ) : ช่วยตอบคำถามที่กลุ่มนำเสนองานสอนแผนการเรียนการสอน
อาจารย์ ( Tachers ) :ให้คำแนะนำเพิ่มเติมให้แต่ละกลุ่ม เพื่อจะนำไปปรับปรุงแก้ไข มีเทคนิคการสอนที่ดี สามารถอธิบายให้นักศึษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น